
รู้จักฟิล์มกรองแสง เท่าที่ได้รับฟังจากการเลือกซื้อฟิล์มกรองแสง พบว่า ฟิล์มติดรถยนต์เชียงใหม่ ส่วนหนึ่งของผู้ซื้อยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับฟิล์มกรองแสง โดยเฉพาะความเข้าใจระหว่างความทึบแสงกับความสามารถในการป้องกันความร้อน ความเข้าใจที่ว่า ฟิล์มที่มีสีเข้มหรือทึบ ช่วยลดความร้อนได้ดี ในความจริงแล้ว สีหรือความทึบของฟิล์มกรองแสงไม่ได้เป็นตัวช่วยลดความร้อน แต่กลับเป็นสารเคลือบตัวอื่นๆ ที่ทำหน้าที่หลักนี้ต่างหาก ลองมาดูว่าส่วนประกอบจากความร้อนที่เราได้รับมีอะไรบ้าง
โดยส่วนประกอบของความร้อนที่เราได้รับนั้นมีสัดส่วนและแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ ความสว่างของแสง(Visible Light) มีสัดส่วน 44% รังสีอินฟาเรด(รังสีใต้แดง – Infrared) มีอยู่ 53% รังสียูวี(รังสีเหนือม่วง, รังสีอุลตร้าไวโอเลต – Ultra violet หรือ UV) มีอยู่ 3% ดังนั้นฟิล์มกรองแสงที่สามารถลดความร้อนได้ดีควรจะลดรังสีทั้ง 3 ส่วนได้มากๆ ตัวอย่างเช่น หากท่านติดฟิล์มกรองแสงที่มีความทึบแสงมากๆ แต่ฟิล์มกรองแสงนั้นๆ เป็นประเภทฟิล์มย้อมสีหรือเป็นฟิล์มกรองแสงที่ไม่ได้มีส่วนผสมของโลหะหรือสารพิเศษใดๆ ท่านจะรู้สึกถึงความร้อนที่ผ่านชั้นผิวของฟิล์มกรองแสงเข้ามา นั่นก็คือฟิล์มกรองแสงนั้นๆสามารถลดได้แค่ช่วงความสว่างของแสงที่มีสัดส่วนอยู่ 44% แต่รังสีอินฟาเรดยังสามารถผ่านทะลุเข้ามาได้จนรู้สึกถึงความร้อน ในทางกลับกันหากท่านติดฟิล์มกรองแสงที่มีส่วนผสมพิเศษไม่ว่าจะเป็นส่วนผสมของโลหะหรืออื่นๆ แต่ฟิล์มกรองแสงนั้นๆ มีค่าความทึบแสงน้อย(แสงส่องผ่านเข้าไปได้เยอะ) ท่านก็จะรู้สึกถึงความร้อนจากความสว่างของแสงที่ส่องผ่านฟิล์มกรองแสงเข้ามา ส่วนรังสียูวีนั้นเป็นส่วนประกอบน้อยมากของความร้อน (3%) ซึ่งฟิล์มกรองแสงเกือบทั้งหมดสามารถลดรังสียูวีได้มากกว่า 95% อยู่แล้ว
ประเภทของฟิล์มกรองแสง
ฟิล์มกรองแสง ผลิตจากแผ่นโพลีเอสเตอร์ที่มีความเหนียว บาง เรียบ สามารถแนบสนิทเป็นเนื้อเดียวกับกระจก โดยยึดกับกระจกด้วยกาวที่มีความใส ดังนั้น เราจึงมองผ่านฟิล์มกรองแสงได้ชัดเจน ณ ปัจจุบันสามารถแบ่งโครงสร้างฟิล์มกรองแสงได้ดังนี้
- ฟิล์มกรองแสงประเภทสีผสมในกาว (Glue Tine Non-reflective)
- ฟิล์มกรองแสงประเภทย้อมสี (Deep Dye Non-reflective)
- ฟิล์มกรองแสงประเภทสีอยู่บนเนื้อฟิล์ม (Chip Dyed Non-reflective)
ประเภทของฟิล์มกรองแสง
ฟิล์มกรองแสง ผลิตจากแผ่นโพลีเอสเตอร์ที่มีความเหนียว บาง เรียบ สามารถแนบสนิทเป็นเนื้อเดียวกับกระจก โดยยึดกับกระจกด้วยกาวที่มีความใส ดังนั้น เราจึงมองผ่านฟิล์มกรองแสงได้ชัดเจน ณ ปัจจุบันสามารถแบ่งโครงสร้างฟิล์มกรองแสงได้ดังนี้
ฟิล์มกรองแสงชนิดธรรมดา
ฟิล์มกรองแสงชนิดธรรมดา(ไม่มีส่วนผสมของโลหะหรือสารพิเศษอื่นๆ) โดยฟิล์มกรองแสงชนิดนี้ก็จะมีชนิดย่อยตามการผลิตอีกคือ
- ฟิล์มกรองแสงประเภทสีผสมในกาว (Glue Tine Non-reflective)
- ฟิล์มกรองแสงประเภทย้อมสี (Deep Dye Non-reflective)
- ฟิล์มกรองแสงประเภทสีอยู่บนเนื้อฟิล์ม (Chip Dyed Non-reflective)
ซึ่งฟิล์มกรองแสงแต่ละชนิดเป็นเทคนิคในการผลิตซึ่งแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติทางด้านอายุการใช้งานและราคาที่แตกต่างกัน แต่ในส่วนคุณสมบัติอื่น เช่น การลดความร้อนไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก
สรุป ในส่วนของฟิล์มกรองแสงชนิดธรรมดาจะได้ดังนี้ คือ
- ระดับราคาจากถูกไปหาแพง – ฟิล์มกรองแสงประเภทสีผสมในกาว (Glue Tine Non-reflective) – ฟิล์มกรองแสงประเภทย้อมสี (Deep Dye Non-reflective) – ฟิล์มกรองแสงประเภทสีอยู่ในเนื้อฟิล์ม (Chip Dyed Non-reflective)
- อายุการใช้งานของฟิล์มกรองแสงจากมากไปหาน้อย ฟิล์มกรองแสงประเภทสีอยู่ในเนื้อฟิล์ม (Chip Dyed Non-reflective) – ฟิล์มกรองแสงประเภทย้อมสี (Deep Dye Non-reflective) – ฟิล์มกรองแสงประเภทสีผสมในกาว (Glue Tine Non-reflective)
ฟิล์มกรองแสงชนิดเคลือบโลหะ
ฟิล์มเคลือบโลหะ โดยแผ่นโลหะนี้จะถูกนำไปประกบหรือรวมกับฟิล์มกรองแสงชนิดธรรมดา โดยแผ่นโลหะจะมีคุณสมบัติพิเศษในการป้องกันรังสีอินฟาเรด โดยใช้หลักการในการสะท้อนออก ทำให้ฟิล์มกรองแสงประเภทนี้สามารถลดความร้อนได้เพิ่มมากขึ้นตามความเงาของเนื้อฟิล์ม ซึ่งก็สามารถแบ่งได้เป็นชนิดโครงสร้างหลักๆ ได้ดังนี้คือ
- ฟิล์มกรองแสงประเภทสีผสมในกาว + โลหะ (Glue Tint Reflective)
- ฟิล์มกรองแสงประเภทย้อมสี + โลหะ (Deep Dyed Reflective)
- ฟิล์มกรองแสงประเภทสีอยู่บนเนื้อฟิล์ม + โลหะ (Chip Dyed Reflective)
- ฟิล์มเคลือบอนุภาคโลหะ (Sputtering)